วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Appereption)



           ทิศนา แขมมณี (2553: 48-50)  ได้รวบรวมทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดไว้ดังนี้ ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Appereption หรือ Herbartianism)
นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ  จอห์น ล็อค (John Locke)  วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt)  ทิชชเนอร์ (Titchener)  และแฮร์บาร์ต  (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้ (Bigge , 1964 : 33-47)
               
             ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1) มนุษย์เกิดมาไม่มีความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
                2) จอห์น ล็อค  เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตและสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
                3) วุนด์  เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling)  คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
                4) ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จิตนาการ (imagination)
                5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory charcterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)  การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์ หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อยๆเมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์ความรู้เดิมเข้าด้วยกัน (appercetion)
                6) แฮร์บาร์ตเชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่
 
            หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                1) การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
                2) การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเป็นอย่างดี
                3) การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
                   3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
                   3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
                   3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction)  ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
                   3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ ที่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป
                   3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม

              
             สยุมพร  ศรีมุงคุณ  (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)ไว้ว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

              (http://dontong52.blogspot.com) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception or Herbartianism)นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
         
          1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม

          2) จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
          3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
          4) ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
          5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
          6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
          
         สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)
             การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดีซึ่งนำมาซึงหลักการจัดการเรียนสอนในชั้นเรียน  โดยมีนักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้

    มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
    จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
    วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
    ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
    แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ เสนอการสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ

§  3.1 ขั้นเตรียมการหรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
§  3.2 ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
§  3.3 ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction)  ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
§  3.4 ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ ที่สามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆต่อไป
§  3.5 ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำข้อสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่เหมือนเดิม

ที่มา
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). ด่านสุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพฯ.
สยุมพร  ศรีมุงคุณ. (https://www.gotoknow.org/posts/341272). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
(http://dontong52.blogspot.com/). ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ( Natural Unfoldment )




          สยุมพร ศรีมุงคุณ(https://www.gotoknow.org/posts/341272) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

            (http://www.oknation.net/blog/print.php?i     d=294321)   ได้รวบรวมเกี่ยวกับทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ ( N


atural Unfoldment ) นี้ว่า
                 นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก


ณัชชากัญ์  วิรัตชัยวรรณ (https://www.l3nr.org/posts/386486) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน
        
        สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ( Natural Unfoldment )
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ คือ เป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญ ที่เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี ได้สัมผัสและลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ได้ประสบการณ์จริง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง และมีทักษะการปฏิบัติมากขึ้น โดยกิจกรรมนั้นต้องมาจากความสนใจและต้องการเรียนรู้  และการจัดกิจกรรมใดๆ ต้องคำนึงถึงช่วงอายุของผู้เรียนด้วยเพราะความสนใจ  ความถนัดของแต่ละช่วงอายุแตกต่างกัน และความแตกต่างระหว่างบุคคลอีกด้วย

ที่มา
ณัชชากัญ์ วิรัตชัยวรรณ. (https://www.l3nr.org/posts/386486). ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321. เข้าถึงเมื่อ วันที่21 กรกฎาคม 2559.
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (https://www.gotoknow.org/posts/341272). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

        

          ณัชชากัญ์  วิรัตชัยวรรณ  (https://www.l3nr.org/posts/386486) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่อง ได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
         
        บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554: 23) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองไว้ดังนี้ ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty)
       
        สยุมพร ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) ไว้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                      

     สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
         ทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty) และ เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาจิตหรือสมองนี้ให้มีความปราดเปรื่องโดยการฝึก โดยเรียนรู้ในสิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไรสมองเรายิ่งมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นเท่านั้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ที่มา          
ณัชชากัญ์ วิรัตชัยวรรณ. (https://www.l3nr.org/posts/386486). ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม.       
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (https://www.gotoknow.org/posts/341272).ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.