วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

        

          ณัชชากัญ์  วิรัตชัยวรรณ  (https://www.l3nr.org/posts/386486) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่อง ได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
         
        บุญเลี้ยง ทุมทอง (2554: 23) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองไว้ดังนี้ ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนรู้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญที่ผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty)
       
        สยุมพร ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง(Mental Discipline) ไว้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                      

     สรุปทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)
         ทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมองเป็นทฤษฎีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทฤษฎีนี้เน้นว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างโดยผู้เรียน ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ เป็นทฤษฎีของคอนสตัคติวิสต์ (Constructivist Theoty) และ เชื่อว่าคนเราสามารถพัฒนาจิตหรือสมองนี้ให้มีความปราดเปรื่องโดยการฝึก โดยเรียนรู้ในสิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไรสมองเรายิ่งมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นเท่านั้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method)เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

ที่มา          
ณัชชากัญ์ วิรัตชัยวรรณ. (https://www.l3nr.org/posts/386486). ทฤษฎีการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2554). การวิจัยการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์. โรงพิมพ์สหบัณฑิต : มหาสารคาม.       
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (https://www.gotoknow.org/posts/341272).ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559.
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น